บทความสำหรับคนขี้ร้อน การเลือกซื้อแอร์ แอร์ยี่ห้อไหนดีที่สุด การบำรุงรักษาแอร์ การติดตั้งแอร์ ผ่อนแอร์ แอร์มือสอง
วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554
วิธีการเลือกซื้อแอร์บ้านมือสอง
1. ตรวจสอบคนลงประกาศขาย หรือร้านที่ลงประกาศขายว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงพอหรือไม่ เพราะแอร์มือสองไม่ได้มีบัตรรับประกันเหมือนแอร์ใหม่จากโรงงานนะครับ ถ้ามีปัญหาแล้วตามคนขายไม่ได้เดี๋ยวจะแย่เอา
2. ถ้าจะซื้อแอร์มือสองถ้าเลือกได้ควรเลือกแอร์ที่มียี่ห้อหน่อยครับ เพราะถ้าเป็นแอร์โนเนมแถมยังเป็นแอร์มือสองอีกก็เสี่ยงหน่อย เพราะอาจจะมีปัญหาจุกจิกภายหลังได้ง่ายกว่าแอร์แบบมียี่ห้อ
3. ควรเช็ครุ่น เช็คยี่ห้อของแอร์รุ่นนั้นๆ เพื่อจะได้ทราบคร่าวๆว่าแอร์มือสองที่เราจะซื้อนั้นมีอายุการใช้งานมานาน เท่าไหร่แล้ว เพราะบางทีคนขายเขาอาจจะไม่แจ้งอายุการใช้งานจริงๆของแอร์ตัวนั้นก็ได้ (อาจจะเพราะไม่รู้จริงๆหรือตั้งใจไม่บอกก็เป็นได้ครับ)
4. ตรวจสอบสภาพภายนอกว่ามีชิ้นส่วนใดเสียหาย หนักจนเกินเยียวยาหรือไม่ (ถ้าทำได้ก็ให้เค้าเปิดดูภายในด้วยก็ดี)
5. ถ้าเลือกได้ควรเลือกแอร์มือสอง ที่คนขายเค้ากล้ารับประกันนะครับ เพราะถ้าให้เรามั่นใจได้อีกระดับหนึ่ง ว่าจะได้แอร์ที่มีคุณภาพ
6. ในการเลือกขนาดบีทียู ของแอร์มือสองถ้าเป็นไปได้ก็ควรเผื่อขนาดแอร์ให้ใหญ่กว่าห้องไปซักเล็กน้อย ก็จะดีมากครับ ไม่ควรคิดตามสูตรการคำนวนของแอร์ใหม่ เพราะขึ้นชื่อว่าแอร์มือสองแล้ว ประสิทธิภาพการทำงานก็ย่อมต้องลดลงตามอายุการใช้งานเป็นธรรมดา แต่ก็ไม่ควรเผื่อให้ขนาดใหญ่เวอร์นะครับเดี๋ยวจะเปลืองไฟเปล่าๆ
7. แอร์มือสอง ควรจะเลือกซื้อในช่วงหน้าฝนหรือหน้าหนาวนะครับ เพราะจะมีตัวเลือกเยอะกว่าหน้าร้อนมาก
ที่มา : airsecondhand.com
ฮวงจุ้ยกับการติดตั้งแอร์บ้าน
การเลือกทิศทางหรือตำแหน่งในการติดตั้งที่เหมาะสม ก็มีความสำคัญพอ ๆ กับการดูฮวงจุ้ยเป็นหลัก
ในการจัดบ้านนั่นแหละ เพราะมีผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิตของผู้อยู่อาศัย ดังนั้นเราควรจะพอมีความรู้ในเรื่องนี้บ้าง ก็จะเป็นการดี
ฮวงจุ้ยที่ดีในการติดตั้งแฟนคอยล์ ยูนิต
ถ้าเป็นห้องนอนควรวางให้ลมจากเครื่องปรับอากาศเป่าด้านข้างลำตัว ไม่ควรวางเครื่องไว้เหนือเตียง เนื่องจากในการดูแลรักษา จะต้องมีการล้าง และปัดฝุ่นที่ฟิลเตอร์อยู่บ่อยๆ จะทำให้เตียงสกปรกง่าย ดังนั้นควรติดตั้งในบริเวณที่จะสามารถทำการซ่อม บริการได้สะดวก |
อย่าตั้งอุณหภูมิให้เย็นเกินไป เพราะเมื่อนอนหลับแล้ว เราจะไม่สามารถปรับอุณหภูมิได้อีก
ทำให้ไม่สบายได้ง่ายเช่นกัน หรือหากมีีรีโมทคอนโทรลก็ควรจัดให้อยู่ใกล้เตียง
หากมีพื้นที่นั่งเล่นอยู่ในห้องนอน ก็ควรจัดให้ตำแหน่งเครื่องปรับอากาศส่งความเย็นไปหามากกว่าส่วนที่ใช้นอน เนื่องจากขณะนอนหลับเราต้องการอุณหภูมิที่สูงกว่าปกติ
ิ
ควรวางแฟนคอยล์ยูนิตให้ใกล้ช่องเปิดหรือระเบียงที่มีคอนเดนซิ่งยูนิต วางอยู่ เพื่อความสะดวกในการติดตั้งและ
ดูแลรักษา
คอนเดนซิ่ง ยูนิต บริเวณที่สามารถระบายความร้อนได้สะดวก ควรเว้นระยะห่างจากกำแพงมาถึงด้านหลังเครื่องไม่น้อยกว่า 10 ซม. และเว้นระยะด้านหน้าเครื่องไม่น้อยกว่า 70 ซม. ไม่โดนฝนสาดได้ง่าย บริเวณไม่ถูกแสงแดดส่องโดยตรงตลอดเวลา |
บริเวณที่สามารถปล่อยให้เสียงและลมร้อนระบายออกมาได้โดยไม่รบกวนบริเวณข้างเคียง
ตำแหน่งติดตั้งควรมีโครงสร้างแข็งแรงหรือใกล้คานหรือเสาเพื่อรับน้ำหนักตัวเครื่องได้ดี
ตัวเครื่องควรยกระดับให้พ้นจากพื้นดินอย่างน้อย 10 เซนติเมตร หรือพ้นจากระดับที่น้ำท่วมถึง และในบริเวณที่สามารถซ่อมบำรุงได้ง่าย
หลีกเลี่ยงการติดตั้งในบริเวณที่มีกรดซัลไฟด์ เช่นบริเวณท่อระบายน้ำทิ้ง
เพราะสารทำความเย็นจะเกิดปฏิกิริยากับกรดซัลไฟด์ ทำให้เกิดแก๊สมีพิษต่อร่างกายเมื่อสูดดม
ตำแหน่งที่ไม่กีดขวางทางเดิน
ที่มา : air2home.com
ปัญหาที่พบบ่อยของแอร์บ้าน
การที่มีน้ำหยดออกมาจากแฟนคอยล์ยูนิต เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
1) ถาดน้ำหรือท่อน้ำทิ้งสกปรกหรืออุดตัน
แก้ไขโดยการทำความสะอาดหรือเปลี่ยนท่อน้ำใหม่
2) ฉนวนหุ้มท่อหนาไม่เพียงพอ แก้ไขโดยการเพิ่มความหนาของฉนวน
3) การติดตั้งแอร์ในที่ที่มีลมร้อนพัดผ่านตลอดเวลาจะทำให้เกิดการ
ควบแน่นของไอน้ำในอากาศจนเปลี่ยนสถานะ มาเป็นหยดน้ำเกาะอยู่บนตัวแอร์ได้
แอร์เสียงดัง แอร์น้ำหยด
การเดินท่อน้ำยายาวๆมีผลเสียอย่างไรบ้าง ?
ความยาวของท่อควรจำทำให้สั้นที่สุดที่จะสั้นได้ ตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต โดยทั่วไปไม่ควรจะเกิน
15-20 เมตร เพราะการเดินท่อน้ำยายาวเกินไปทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแอร์ลดลง เนื่องจากคอมเพรสเซอร์ต้องทำงานหนักขึ้นและเกิดการสูญเสียพลังงานระหว่างทาง มากกว่าปกติ
ที่มา : air2home.com
การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
เพื่อ ให้เครื่องปรับอากาศทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และมีอายุการใช้งานยาวนาน จึงควรหมั่นดูแลบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งวิธีการก็มีทั้งแบบที่ทำเองได้ และต้องทำโดยช่างผู้ชำนาญ
การทำความสะอาดเบื้องต้นด้วยตนเอง ทำ ได้โดยการถอดแผ่นกรองอากาศ(Filter) มาล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า แล้วใส่กลับคืน ซึ่งอาจจะทำสัปดาห์ละครั้ง หรือ เดือนละ 2 ครั้งขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และความสกปรก การรักษาแผ่นกรองให้สะอาดอยู่เสมอนั้นทำให้การระบายลมเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ ซึ่งนอกจากจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องแล้ว ยังช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย
การทำความสะอาดภายในโดยช่างผู้ชำนาญ เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน แต่อาจไม่บ่อยเท่ากับการทำความสะอาดด้วยตนเอง โดยอาจจะทำ 3-6 เดือนต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และการใช้งาน การล้างภายในต้องใช้ช่างผู้ชำนาญเนื่องจากต้องมีการถอดชิ้นส่วนบางชิ้น เช่นถอดถาดน้ำทิ้งมาล้างเพื่อให้น้ำทิ้งไหลได้สะดวก และใช้ปั๊มน้ำแรงสูงฉีดทำความสะอาดแผงคอยล์
การตรวจเช็คสภาพ เป็นการตรวจเช็คระบบทั่วไป ซึ่งโดยมากแล้วจะทำพร้อมกับการล้างภายในโดยช่างผู้ชำนาญ
• วัดความดันน้ำยาในระบบว่าเพียงพอหรือไม่
• ตรวจระบบไฟฟ้า เช่นสภาพของสายไฟ
• หยอดน้ำมันมอเตอร์พัดลมทั้งที่คอยล์ร้อน และคอยล์เย็น
• ตรวจสอบและซ่อมแซมฉนวนหุ้มท่อน้ำยาที่เชื่อมต่อระหว่าง คอนเดนซิ่งยูนิต และแฟนคอยล์ยูนิต
ที่มา : kitchaair.com
เครื่องปรับอากาศคืออะไร
เดิม เครื่องปรับอากาศทำหน้าที่เป็นเครื่องที่ทำให้อุณหภูมิลดลง แต่ปัจจุบันนี้เครื่องปรับอากาศได้ถูกพัฒนาให้มีความสามารถในด้านอื่นๆ อีกหลายด้านเช่นปรับอุณหภูมิตามความต้องการ หรือมีการกรองอากาศ การป้องกันเชื้อราในห้อง มีระบบประหยัดไฟฟ้า มีระบบอื่นๆ ที่สนองความต้องการของผู้บริโภคอีกมากมาย ซึ่งทำให้เครื่องปรับอากาศในสมัยนี้มีคุณสมบัติต่างจากเครื่องปรับอากาศสมัย ก่อนมากชนิดเปรียบเทียบกันไม่ได้เลยทีเดียว
ชนิดของเครื่องปรับอากาศ
ส่วน ประกอบหลักของเครื่องปรับอากาศแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ตัวให้ความเย็นที่อยู่ภายในบ้าน (indoor) และ ตัวคอมเพรสเซอร์ที่อยู่นอกบ้าน (outdoor) ซึ่งทั้ง 2 ส่วนจะมีท่อเป็นตัวเชื่อมในการทำงาน โดยปกติแล้ว ทั้งตัวให้ความเย็นที่อยู่ภายในบ้าน (indoor) และ คอมเพรสเซอร์ที่อยู่นอกบ้าน (outdoor) เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศแบบ Window Type และส่วนที่แยกออกมาเราเรียกว่า Single Split Type แต่ในส่วนของ Single Split Type ซึ่งมีหลายแบบด้วยกันจะขึ้นอยู่กับตัวให้ความเย็นที่อยู่ในบ้าน (indoor) Window-type
เครื่องปรับอากาศแบบนี้เป็นชนิดที่ติดตั้งกับฝาผนัง หรือรอบวงกบของหน้าต่าง
Wall-mounted Single Split Type
เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ตัวให้ความเย็นที่อยู่ภายในบ้าน (indoor)หรือระบบการระเหย ซึ่งจะติดอยู่กับฝาผนัง และ ตัวคอมเพรสเซอร์ที่อยู่นอกบ้าน (condenser)
Wall-mounted Multi Split Type
เครื่องปรับอากาศแบบ Multi Split เหมาะสำหรับห้องที่ต้องการความเย็นมากกว่า 1 ห้องขึ้นไป โดยใช้ตัวคอมเพรสเซอร์ที่อยู่นอกบ้านเพียง 1 เครื่อง เชื่อมกับ ตัวให้ความเย็นที่อยู่ในบ้าน 2-3 เครื่อง เครื่องปรับอากาศชนิดนี้จะใช้เนื้อที่น้อยในการติดตั้ง
Floor Standing type
เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ สามารถติดตั้งได้กับทุกสถานที่ ที่มีเพดานสูง และเนื่องจากการต่อท่อเชื่อมการทำงาน ที่ติดตั้งอยู่ในระดับต่ำ ทำให้เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ เหมาะสำหรับการใช้งานใน ภัตตาคาร หรือสำนักงาน
ระบบทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
ถ้า เราลองนำแอลกอฮอล์ มาเช็ดที่แขน เมื่อแอลกอฮอล์ระเหย จะรู้สึกเย็น เพราะเมื่อแอลกอฮอล์ระเหยจะดูดซับความร้อนออกไปด้วย ทำให้อุณหภูมิบริเวณนั้นลดลง เครื่องปรับอากาศก็ทำงานด้วยวิธีเดียวกันนั่นเอง คือการทำให้ดูดซับความร้อนในห้องออกไป พร้อมกับการเปลี่ยนสถานะของสสาร ด้วยหลักการเดียวกับการระเหยของแอลกอฮอล์
ส่วนประกอบหลักของการทำความเย็น
เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ในระบบการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ และเข้าใจส่วนประกอบทั้ง 4 ส่วน คือ Compressor
มีบทบาทสำคัญในการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ โดยความเย็นจะถูกดูดจากการหมุนเวียนของระบบทำความเย็น
Condenser
เป็นตัวที่แยกออกมา และทำหน้าที่นำความร้อนออกจากระบบทำความเย็น
Evaporator
(ระบบการระเหย) เป็นตัวดูดซับความร้อนในระบบการทำความเย็น
Tube
เป็นตัวลดความดันของตัวทำความเย็น
BTU คืออะไร?
บีทียู ( Btu : British Thermal Unit ) คือ หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อนหน่วยหนึ่ง ( ซึ่งเป็นที่นิยมใช้มากในระบบปรับอากาศ ) สามารถเทียบได้กับหน่วยแคลอรีหรือหน่วยจูลในระบบสากล โดยที่ ความร้อน 1 Btu คือปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์มีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮด์ สำหรับเครื่องปรับอากาศนั้นจะวัดกำลังความเย็นหรือความสามารถในการดึงความ ร้อน ( ถ่ายเทความร้อน ) ออกจากห้องปรับอากาศในหน่วยบีทียูต่อชั่วโมง ( Btu/h ) ซึ่งเทียบเท่ากับหน่วยวัตต์ในระบบสากล เช่น เครื่องปรับอากาศขนาด 12,000 บีทียูต่อชั่วโมง หมายความว่าเครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นมีความสามารถในการดึงความร้อนออกจาก ห้องปรับอากาศ 12,000 บีทียูภายในเวลา 1 ชั่วโมงแต่โดยทั่วไปในท้องตลาดมักใช้คำว่าบีทียูต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นการใช้ที่ผิดหลักวิชาการแต่ว่าเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป
ERR คืออะไร?
EER ( Energy Efficiency Ratio ) หรืออัตราส่วนประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ
คือค่าที่ใช้วัด ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศว่าดี หรือไม่อย่างไร มีหน่วยเป็น BTU/W ดูจากหน่วยของค่า EER นี้แล้วก็คงเข้าใจได้โดยง่ายว่าค่า EER นั้นก็คืออัตราส่วนของความเย็นที่เครื่องปรับอากาศสามารถทำได้จริง ( Output ) กับกำลังไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศนั้นต้องใช้ในการทำความเย็นนั้น ( Input ) เครื่องปรับอากาศที่มีค่า EER ยิ่งสูงก็แสดงว่าเครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นยิ่งมีประสิทธิภาพในการใช้ พลังงานที่ดี นั่นก็คือเป็นเครื่องปรับอากาศที่ช่วยคุณประหยัดพลังงานไฟฟ้าหรือค่าไฟได้ มากนั่นเอง
ที่มา : kitchaair.com
เครื่องปรับอากาศคืออะไร
เดิม เครื่องปรับอากาศทำหน้าที่เป็นเครื่องที่ทำให้อุณหภูมิลดลง แต่ปัจจุบันนี้เครื่องปรับอากาศได้ถูกพัฒนาให้มีความสามารถในด้านอื่นๆ อีกหลายด้านเช่นปรับอุณหภูมิตามความต้องการ หรือมีการกรองอากาศ การป้องกันเชื้อราในห้อง มีระบบประหยัดไฟฟ้า มีระบบอื่นๆ ที่สนองความต้องการของผู้บริโภคอีกมากมาย ซึ่งทำให้เครื่องปรับอากาศในสมัยนี้มีคุณสมบัติต่างจากเครื่องปรับอากาศสมัย ก่อนมากชนิดเปรียบเทียบกันไม่ได้เลยทีเดียว
ชนิดของเครื่องปรับอากาศ
ส่วน ประกอบหลักของเครื่องปรับอากาศแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ ตัวให้ความเย็นที่อยู่ภายในบ้าน (indoor) และ ตัวคอมเพรสเซอร์ที่อยู่นอกบ้าน (outdoor) ซึ่งทั้ง 2 ส่วนจะมีท่อเป็นตัวเชื่อมในการทำงาน โดยปกติแล้ว ทั้งตัวให้ความเย็นที่อยู่ภายในบ้าน (indoor) และ คอมเพรสเซอร์ที่อยู่นอกบ้าน (outdoor) เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศแบบ Window Type และส่วนที่แยกออกมาเราเรียกว่า Single Split Type แต่ในส่วนของ Single Split Type ซึ่งมีหลายแบบด้วยกันจะขึ้นอยู่กับตัวให้ความเย็นที่อยู่ในบ้าน (indoor) Window-type
เครื่องปรับอากาศแบบนี้เป็นชนิดที่ติดตั้งกับฝาผนัง หรือรอบวงกบของหน้าต่าง
Wall-mounted Single Split Type
เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ตัวให้ความเย็นที่อยู่ภายในบ้าน (indoor)หรือระบบการระเหย ซึ่งจะติดอยู่กับฝาผนัง และ ตัวคอมเพรสเซอร์ที่อยู่นอกบ้าน (condenser)
Wall-mounted Multi Split Type
เครื่องปรับอากาศแบบ Multi Split เหมาะสำหรับห้องที่ต้องการความเย็นมากกว่า 1 ห้องขึ้นไป โดยใช้ตัวคอมเพรสเซอร์ที่อยู่นอกบ้านเพียง 1 เครื่อง เชื่อมกับ ตัวให้ความเย็นที่อยู่ในบ้าน 2-3 เครื่อง เครื่องปรับอากาศชนิดนี้จะใช้เนื้อที่น้อยในการติดตั้ง
Floor Standing type
เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ สามารถติดตั้งได้กับทุกสถานที่ ที่มีเพดานสูง และเนื่องจากการต่อท่อเชื่อมการทำงาน ที่ติดตั้งอยู่ในระดับต่ำ ทำให้เครื่องปรับอากาศชนิดนี้ เหมาะสำหรับการใช้งานใน ภัตตาคาร หรือสำนักงาน
ระบบทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
ถ้า เราลองนำแอลกอฮอล์ มาเช็ดที่แขน เมื่อแอลกอฮอล์ระเหย จะรู้สึกเย็น เพราะเมื่อแอลกอฮอล์ระเหยจะดูดซับความร้อนออกไปด้วย ทำให้อุณหภูมิบริเวณนั้นลดลง เครื่องปรับอากาศก็ทำงานด้วยวิธีเดียวกันนั่นเอง คือการทำให้ดูดซับความร้อนในห้องออกไป พร้อมกับการเปลี่ยนสถานะของสสาร ด้วยหลักการเดียวกับการระเหยของแอลกอฮอล์
ส่วนประกอบหลักของการทำความเย็น
เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ในระบบการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ และเข้าใจส่วนประกอบทั้ง 4 ส่วน คือ Compressor
มีบทบาทสำคัญในการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ โดยความเย็นจะถูกดูดจากการหมุนเวียนของระบบทำความเย็น
Condenser
เป็นตัวที่แยกออกมา และทำหน้าที่นำความร้อนออกจากระบบทำความเย็น
Evaporator
(ระบบการระเหย) เป็นตัวดูดซับความร้อนในระบบการทำความเย็น
Tube
เป็นตัวลดความดันของตัวทำความเย็น
BTU คืออะไร?
บีทียู ( Btu : British Thermal Unit ) คือ หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อนหน่วยหนึ่ง ( ซึ่งเป็นที่นิยมใช้มากในระบบปรับอากาศ ) สามารถเทียบได้กับหน่วยแคลอรีหรือหน่วยจูลในระบบสากล โดยที่ ความร้อน 1 Btu คือปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ 1 ปอนด์มีอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง 1 องศาฟาเรนไฮด์ สำหรับเครื่องปรับอากาศนั้นจะวัดกำลังความเย็นหรือความสามารถในการดึงความ ร้อน ( ถ่ายเทความร้อน ) ออกจากห้องปรับอากาศในหน่วยบีทียูต่อชั่วโมง ( Btu/h ) ซึ่งเทียบเท่ากับหน่วยวัตต์ในระบบสากล เช่น เครื่องปรับอากาศขนาด 12,000 บีทียูต่อชั่วโมง หมายความว่าเครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นมีความสามารถในการดึงความร้อนออกจาก ห้องปรับอากาศ 12,000 บีทียูภายในเวลา 1 ชั่วโมงแต่โดยทั่วไปในท้องตลาดมักใช้คำว่าบีทียูต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นการใช้ที่ผิดหลักวิชาการแต่ว่าเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป
ERR คืออะไร?
EER ( Energy Efficiency Ratio ) หรืออัตราส่วนประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศ
คือค่าที่ใช้วัด ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศว่าดี หรือไม่อย่างไร มีหน่วยเป็น BTU/W ดูจากหน่วยของค่า EER นี้แล้วก็คงเข้าใจได้โดยง่ายว่าค่า EER นั้นก็คืออัตราส่วนของความเย็นที่เครื่องปรับอากาศสามารถทำได้จริง ( Output ) กับกำลังไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศนั้นต้องใช้ในการทำความเย็นนั้น ( Input ) เครื่องปรับอากาศที่มีค่า EER ยิ่งสูงก็แสดงว่าเครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นยิ่งมีประสิทธิภาพในการใช้ พลังงานที่ดี นั่นก็คือเป็นเครื่องปรับอากาศที่ช่วยคุณประหยัดพลังงานไฟฟ้าหรือค่าไฟได้ มากนั่นเอง
ที่มา :
การใช้งานเครื่องปรับอากาศ
การใช้งานเครื่องปรับอากาศอย่างถูกต้อง ช่วยให้เครื่องปรับอากาศทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงานไฟฟ้าสามารถทำได้ดังนี้
1. ปรับตั้งอุณหภูมิของห้องให้เหมาะสม ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น และ ห้องอาหาร อาจตั้งอุณหภูมิไม่ให้ต่ำกว่า25 องศาเซลเซียสสำหรับห้องนอนนั้นอาจตั้งอุณหภูมิสุงกว่านี้ได้เพราะร่างกาย มนุษย์ขณะหลับจะไม่มีการเคลื่อนไหวและมีการคายเหงื่อน้อยลง หากปรับอุณหภูมิเป็น 26องศาเซลเซียสก็ไม่ทำให้รู้สึกร้อนจนเกินไปแต่จะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าได้ ประมาณร้อยละ 15-20
2. ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่เลิกใช้งาน หรือตั้งเวลาปิดการทำงานของตัวเครื่องไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เครื่องหยุดเองโดยอัตโนมัติ
3. อย่านำสิ่งของไปวางกีดขวางทางลมเข้าและลมออกของคอนเด็นซิ่งยูนิต ซึ่งตั้งอยู่นอกห้องเพราะจะทำให้เครื่องระบายความร้อนไม่ออกกและต้องทำงาน หนักมากขึ้น และควรตั้งห่างจากผนังอย่างน้อย 15 เซนติเมตร เพื่อระบายความร้อนได้ดี จะประหยัดไฟฟ้าได้ประมาณร้อยละ 15-20
4. อย่านำรูปภาพหรือสิ่งของไปขวางทางลมเข้า และออกของแฟนคอยล์ยูนิตซึ่งตั้งอยู่ในห้องเพราะจะทำให้ห้องไม่เย็น
5. ควรเปิดหลอดไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในห้องเฉพาะเท่าที่จำเป็นต่อการ ใช้งานเท่านั้นและปิดไฟทุกครั้งเมื่อใช้งานเสร็จเพราะหลอดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้า บางชนิดขณะเปิดใช้งาน จะมี ความร้อนออกมาทำให้อุณหภูมิในห้องสูงขึ้น
6. หลีกเลี่ยงการนำเครื่องครัว หรือภาชนะที่มีผิวหน้าร้อนจัดเช่นเตาไฟฟ้า กะทะร้อน หม้อต้มน้ำ หม้อต้มสุกี้ เข้าไปในห้องอาหารที่มีการปรับอากาศ ควรปรุงอาหารในครัว แล้วจึงนำเข้ามารับประทานภายในห้อง
7. ในช่วงเวลาที่ไม่ใช้ห้อง หรือ ก่อนเปิดเครื่องปรับอากาศประมาณ 15 นาที ควรเปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้เพื่อให้อากาศบริสุทธิ์ภายนอกเข้าไปแทนที่อากาศ เก่าภายในห้อง จะช่วยลดกลิ่นต่างๆ ให้น้อยลงโดยไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศซึ่งจะทำให้เครื่องปรับอากาศ ทำงานหนักขึ้น
8. ควรเปิดประตู หน้าต่าง ให้สนิทขณะใช้งานครื่องปรับอากาศเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศร้อนชื้นากภายนอก ข้ามา จะทำให้ เครื่องต้องทำงานมากขึ้น
9. ไม่ควรปลูกต้นไม้ หรือตากผ้าภายในห้องที่มีการปรับอากาศเพราะความชื้นจากสิ่งเหล่านี้จะทำให้ เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักขึ้น
ที่มา : kitchaair.com
การประหยัดพลังงานในการใช้แอร์
> ควรเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศที่มียี่ห้อที่เชื่อถือได้ เพราะแอร์โนเนม ส่วนใหญ่จะมี บีทียูน้อยกว่าที่บอกไว้ เมื่อเป็นเช่นนั้น จะทำให้กินไฟสิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ ประหยัดเงินเราตอนซื้อครั้งแรก แต่ต้องมานั่งจ่ายค่าไฟที่มากเกินไปทุกเืดือน อย่างนี้ไม่คุ้มเลยใช่มั้้ยคะ?
> หมั่นทำความสะอาด"เครื่องปรับอากาศ"อยู่เป็นประจำเพื่อให้การระบายความร้อนทำได้สะดวก
> เปลี่ยน"เครื่องปรับอากาศ"ใหม่ทดแทนเครื่องเก่าที่มีประสิทธิภาพต่ำหรือใช้งานมานาน
> ลดความร้อนจากภายนอกที่ผ่านเข้ามายังบริเวณที่ปรับอากาศ โดยผ่านทางผนัง หน้าต่าง หลังคา และพื้น
โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. การลดความร้อนผ่านผนัง
1.1 ผนังกระจกที่มีพื้นที่กระจกใส เป็นพื้นที่ที่ความร้อนสามารถผ่านเข้ามาในห้องได้มากที่สุด ควรป้องกันความร้อนดังนี้
- ใช้เครื่องบังแดดภายในอาคาร
- ใช้กันสาดในแนวตั้งและแนวนอน หรือการหลบแนวหน้าต่างเข้ามาภายใน
- สำหรับกระจกที่หันไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ควรติดกันสาดในแนวนอน
- ส่วนกระจกที่หันไปทางทิศเหนือและทิศใต้ ควรใช้กันสาดในแนวตั้ง
- ปลูกต้นไม้บังแดดสำหรับกระจกทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
- ใช้ผ้าม่านหรือมู่ลี่สีอ่อนบังแดดภายในด้านหลังกระจก โดยเลือกใช้มู่ลี่ชนิดใบอยู่แนวนอนสำหรับกระจกทางทิศเหนือหรือทิศใต้ ส่วนกระจกทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก ควรใช้กระจกกรองแสงหรือสะท้อนแสง
- พยายามใช้กระจกเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของอาคาร
แอร์บ้านประหยัดไฟ
1.2 ผนังอาคารที่เป็นปูน
- ทาสีด้านนอกด้วยสีขาวหรือสีอ่อน หรือใช้วัสดุผิวมัน เช่น กระเบื้องเคลือบ เพื่อช่วยสะท้อนแสง
- ควรปลูกต้นไม้หรือสร้างที่บังแดด เพื่อให้ร่มเงาแก่ผนัง
- ผนังห้องห้องโดยเฉพาะด้านทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก ซึ่งไม่มีเงากำบัง เป็นส่วนที่มีความร้อนมาก ควรบุฉนวนกันความร้อนหรือใช้เฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ เช่น ชั้นหนังสือหรือตู้เสื้อผ้า ตั้งกั้นไม่ให้ความร้อนแผ่เข้ามาในห้องเร็วนัก
1.3 ผนังอาคารที่เป็นไม้ หากมีช่องห่างของไม้มากควรตีผนังด้านในด้วยไม้อัด เพื่อกันการผ่านของความร้อนจากภายนอกเข้ามาในอาคาร
2. การลดความร้อนผ่านหน้าต่าง
2.1 หน้าต่างควรมีเฉพาะทิศเหนือหรือทิศใต้ของอาคาร เพื่อลดการรับแสงแดดโดยตรง
2.2 ต้องพยายามไม่ให้มีรอยรั่วตามขอบประตู หน้าต่าง หรือบริเวณฝ้าเพดาน
2.3 หน้าต่างส่วนที่เป็นกระจก ให้ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผนังกระจก
3. การลดความร้อนผ่านหลังคาและฝ้าเพดาน
3.1 หลังคาที่เป็นสังกะสีหรือกระเบื้อง ควรตีฝ้าหรือติดตั้งวัสดุสะท้อนความร้อน หรือบุฉนวนกันความร้อน เพื่อช่วยลดความร้อนที่จะแผ่เข้ามาในอาคาร
3.2 ถ้ามีช่องว่างระหว่างหลังคากับฝ้ามาก ควรเจาะช่องลมเพื่อระบายอากาศ จะทำให้ประหยัดการปรับอากาศได้
4. การลดความร้อนผ่านพื้น หากเป็นพื้นไม้ควรอุดช่องระหว่างไม้ให้สนิท แอร์จะได้ไม่รั่วออกไป
5. การปรับปรุงห้องในส่วนอื่นๆ อาทิ จัดพื้นที่ในห้องซึ่งไม่ได้ใช้งานประจำ เช่น ตู้เสื้อผ้า ห้องแต่งตัว ห้องน้ำ อยู่ทางทิศตะวันตก จะช่วยกันความร้อนไม่ให้เข้ามาถึงห้องที่ใช้สอยประจำ คือส่วนนอน ทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าในการปรับอุณหภูมิลงได้
6. การลดความร้อนจากดวงไฟและอุปกรณ์ภายใน
6.1 พยายามใช้แสงธรรมชาติช่วยส่องสว่างภายในอาคาร และควรจะปิดไฟที่ไม่จำเป็น
6.2 ภายในอาคารควรใช้สีอ่อน เพื่อช่วยในการสะท้อนแสง ทำให้ใช้ดวงไฟน้อยลง
6.3 เลือกใช้หลอดไฟที่มีประสิทธิภาพการส่องสว่างสูง เช่นหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์แทนหลอดไฟแบบมีไส้
6.4 อุปกรณ์ที่ให้ความร้อนมากควรใช้นอกห้อง เช่น เตารีด เครื่องปิ้งขนมปัง หรือกาต้มน้ำ
6.5 ติดตั้งฝาครอบระบายอากาศสำหรับเครื่องหุงต้มทุกชนิด ถ้าจำเป็นต้องใช้ในห้องปรับอากาศ
ที่มา : air-thai.com
การคำนวนขนาดบีทียูที่เหมาะสมกับการติดตั้งแอร์
BTU คือ ขนาดทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ มีหน่วยดังนี้
1 ตันความเย็น = 12000 บีทียู / ชั่วโมง เราควรเลือกขนาดบีทียูของเครื่องปรับอากาศ ให้มีขนาดพอเหมาะกับห้องที่จะทำการติดตั้ง
ทำไมต้องเลือกบีทียูให้พอเหมาะ
BTU สูงไป คอมเพรสเซอร์ทำงานตัดบ่อยเกินไป ทำให้ประสิทธิ์ภาพในการทำงานลดน้อยลง ทำให้ความชื้นในห้องสูง ไม่สบายตัวและที่สำคัญราคาแพงและสิ้นเปลื้องพลังงาน
BTU ต่ำไป คอมเพรสเซอร์ทำงานตลอดเวลา เพราะความเย็นห้องไม่ได้ตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ สิ้นเปลื้องพลังงานและเครื่องเสียเร็ว
การคำนวนบีทียู
BTU = พื้นที่ห้อง ( กว้าง x ยาว ) x ตัวแปร
ตัวแปรแบ่งได้ 2 ประเภท
700 = ห้องที่มีความร้อนน้อยใช้เฉพาะกลางคืน
800 =ห้องที่มีความร้อนสูงใช้กลางวันมาก
กรณีที่ห้องที่เพดานสูงกว่า 2.5 เมตร บวกเพิ่ม 5 %
สามารถเลือกได้จากตารางข้างล่างดังนี้
BTU | ห้องปกติ(ตร.เมตร) | ห้องที่โดนแดด(ตร.เมตร) |
9000 | 12-15 | 11-14 |
12000 | 16-20 | 14-18 |
18000 | 24-30 | 21-27 |
21000 | 28-35 | 25-32 |
24000 | 32-40 | 28-36 |
26000 | 35-44 | 30-39 |
30000 | 40-50 | 35-45 |
36000 | 48-60 | 42-54 |
48000 | 64-80 | 56-72 |
60000 | 80-100 | 70-90 |
ปัจจัยที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม
1. จำนวนและขนาดของหน้าต่าง
2.ทิศที่แดดส่องหรือทิศที่ตั้งของห้อง
3.วัสดุหลังคามีฉนวนกันความร้อนหรือไม่
4. จำนวนคนที่ใช้งานในห้อง
ที่มา : Kt-air
5 ขั้นตอนการเลือกซื้อแอร์
5 ขั้นตอนการเลือกซื้อแอร์
1. ประเภทของ เครื่องปรับอากาศ เครื่องปรับอากาศ แอร์บ้าน แบ่ง ออกเป็นประเภทตามลักษณะความต้องการใช้งาน ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ซึ่งแตกต่างกันไป ทั้งฟังก์ชั่นการทำงาน ขนาดของ BTU รูปลักษณ์ภาบนอกที่เหมาะสมกับสถานที่ติดตั้งเป็นไปตามความต้องการของผู้ซื้อ ก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญต่อการตัดสินใจในการซื้อเพื่อสนองตอบความต้องการของ ผู้ซื้อ
แบบเคลื่อนที่ี่(Portable) - เคลื่อนย้ายสะดวก - ต้องหาที่ระบายความร้อน แบบติดผนัง(Wall Type) - ทำงานเงียบ - การติดตั้งเฉพาะผนังเท่านั้น แบบตั้ง/แขวน(Floor&Ceiling) - กระจายลมเย็นได้ดี - มีฟังก์ชั่นการทำงานน้อย - กระจายลมได้ดีแรงและไกล - ใช้พื้นที่ในการติดตั้งมาก
ประเภทของแอร์ Btu/h จุดเด่น ข้อจำกัด
- ไม่ต้องติดตั้งใช้งานได้
- ต้องระบายน้ำทิ้งเอง
- กระจายความเย็นเฉพาะจุด
- เสียงค่อนข้างดัง
- รูปทรงสวยงาม
- ใช้พื้นที่ติดตั้งน้อย
- มีขนาดบีทียูให้เลือก
- การกระจายลมแรงลมน้อยกว่า
แบบตั้งพื้นและแขวนเพดาน
- สามารถแขวนได้
- สามารถติดตั้งในห้องที่เพดานสูง
หรือห้องที่มีกระจกรอบด้าน
- เลือกที่จะตั้งพื้นหรือแขวนเพดาน
- รูปร่างใหญ่
- ใช้พื้นที่ติดตั้งมาก
- เสียงดัง มีเสียงลมบ้าง
- ไม่เหมาะกับห้องนอน แบบตู้ตั้ง(Floor Standing)
- เหมาะสำหรับห้องโล่งใหญ่
- ยังไม่มีการทดสอบมาตรฐานเบอร์ 5
2. ขนาดความเย็นของ เครื่องปรับอากาศ แอร์บ้าน เป็นความสำคัญอันดับแรกๆ ในการเลือกซื้อ เครื่องปรับอากาศ คือต้องเลือกขนาด การทำความเย็นของ เครื่องปรับอากาศ ให้พอเหมาะกับห้องและการใช้งาน โดยหน่วยความเย็นที่เรารู้จักกันดี เรียกว่า BTU (ฺBritish Thermal Unit) คือ ขนาดทำความเย็นของ เครื่องปรับอากาศ มีหน่วยดังนี้ 1 ตันความเย็น เท่ากับ 12000 BTU/hr.
3. มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เป็นสินค้าที่ได้รับฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 จากหน่วยงานไฟฟ้า จะไ้ด้รับรองเรื่องของการประหยัดไฟเบอร์ 5
4. คุณสมบัติพิเศษต่างๆ และการดีไซน์ คุณสมบัติพิเศษต่างๆ ของเครื่องปรับอากาศ เช่น ฟิลเตอร์กรองอากาศ การกำหนดความเร็ว ความแรงของมอเตอร์ การปรับทิศทางลม การออกแบบเพื่อความสวยงามของห้อง
5. การติดตั้งและการบำรุงรักษา การติดตั้ง เครื่องปรับอากาศ แอร์บ้าน ต้องทำโดยช่างผู้ชำนาญเท่านั้น และการใช้ เครื่องปรับอากาศให้เต็มประสิทธิภาพ ต้องคำนึงถึงแผนการบำรุงรักษา เครื่องปรับอากาศ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องอีกด้วย
คุณสมบัติต่างๆ รวมถึงราคา ดังนั้นการเลือกซื้อสินค้าที่ราคาเหมาะสมกับคุณภาพ และความต้องการใช้งานรวมทั้งได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์์อุตสาหกรรม(สมอ.)
ที่มา : kitchaair.com
การเลือกซื้อแอร์
วิธีการเลือกซื้อแอร์
จะเลือกซื้อ "เครื่องปรับอากาศ" ทั้งที....ควรพิจารณาอะไรบ้าง ?!?
แจกแจงปัจจัยสำคัญที่ควรพิจารณาเมื่อเลือกซื้อ "เครื่องปรับอากาศ" ควรซื้อกี่บีทียู แบบตั้ง/แขวนหรือแบบติดผนัง หรือควรเลือกระบบกรองอากาศแบบไหน หรือที่จริงแล้วไม่จำเป็นต้องมีก็ได้
ในฤดูร้อนอย่างนี้ ทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนัก ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้นตามไปด้วย การดูแลเครื่องปรับอากาศให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานจึงเป็นเรื่องสำคัญ เช่น การล้างเครื่องให้ทำงานดีขึ้น ส่วนใครที่ต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศในช่วงนี้ ก็ต้องทำการบ้านเสียหน่อย เพราะจากการสำรวจพบว่า พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อมักเน้นเลือกเครื่องปรับอากาศ ที่มีเทคโนโลยีเกี่ยวกับสุขภาพเป็นอันดับแรก รองลงมาคือดูที่การประหยัดไฟ ราคา บริการหลังการขายและรูปลักษณ์ของสินค้า
อย่างไรก็ตาม ฉลาดซื้อเห็นว่า เราควรเลือกเครื่องปรับอากาศที่คุ้มค่าระหว่างเงินที่ต้องเสียไปกับเทคโนโลยีที่ได้กลับมา นอกจากนี้ ยังควรคำนึงถึงการประหยัดไฟฟ้าในระยะยาวด้วย
เลือกแอร์อย่างไรให้ "เย็นใจ"
1.เลือกให้เหมาะกับขนาดห้อง
ขนาดการทำงานของแอร์ เรียกว่า "บีทียู" การเลือกขนาดบีทียูให้เหมาะกับขนาดห้องเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะถ้าสูงไป คอมเพรสเซอร์จะทำงานตัดบ่อยเกินไป ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดน้อยลงและความชื้นในห้องสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังราคาแพงและเปลืองไฟ แต่หากเลือกบีทียูต่ำไป คอมเพรสเซอร์ก็จะทำงานตลอดเวลา เนื่องจากความเย็นในห้องยังไม่ได้ตามที่ตั้งไว้ ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานและเครื่องเสียเร็วอีกเช่นกัน
2.เลือกฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
การเลือกฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 คือ การเลือกเครื่องปรับอากาศที่ไม่กินไฟมาก แต่ให้ความเย็นได้เท่ากัน ทั้งนี้ หากเครื่องปรับอากาศที่คุณชอบมีบีทียูเท่ากัน และเป็นเบอร์ 5 เหมือนกัน ขอแนะนำให้เลือกเครื่องที่มีค่า "อีอีอาร์" มากกว่า เพราะกินไฟน้อยกว่า ค่าอีอีอาร์ หรือ Energy Efficiency Ratio เป็นค่าที่บอกประสิทธิภาพด้านพลังงาน ซึ่งสามารถดูได้จากเอกสารแนะนำสินค้านั้นๆ
3.ดูอายุการใช้งาน การติดตั้งและบริการหลังการขาย
การเลือกบริษัทที่น่าเชือถือ มีการทำตลาดมานาน มีบริการติดตั้งโดยผู้ชำนาญการ และบริการหลังกการขายที่ดี ตลอดจนการรับประกันต่างๆ ถือเป็นจุดสำคัญที่ต้องพิจารณาเช่นกัน
4.ดูคุณสมบัติพิเศษและดีไซน์ว่า คุ้มค่ากับราคาหรือไม่
เครื่องปรับอากาศในปัจจุบันยังแข่งขันกันด้านเทคโนโลยีความเย็น ความเงียบ จนถึงเรื่องของสุขภาพ ที่มีการใส่เครื่องฟอกอากาศ ซึ่งก็มีอยู่หลายแบบ ทั้งซิลเวอร์นาโน นาโนไทเทเนียม แผ่นกรองเฮปป้าฟิลเตอร์ พลาสม่าคลัสเตอร์ เป็นต้น ซึ่งเรามีข้อมูลมาฝาก.....
ระบบการทำงานของเครื่องปรับอากาศมีหลายระบบ ดังนี้
1) การกรอง (Filtration) เป็นการใช้แผ่นกรองอากาศดักจับฝุ่นละออง หรืออนุภาคขนาดใหญ่ โดยสิ่งสกปรกจะติดค้างอยู่ที่ไส้กรอง ต้องทำการเปลี่ยนเมื่อหมดอายุการใช้งาน ตัวอย่างของระบบนี้ ได้แก่ HEPA ซึ่งเป็นการกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพกำจัดอนุภาคขนาดเล็กถึง 0.05 ไมครอน ในกรณีที่ต้องการกำจัดกลิ่นในอากาศ จะนิยมใช้ "แผ่นคาร์บอน" เพื่อดูดซับกลิ่น
2) การดักจับด้วยไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Precipitator) เป็นการใช้ตะแกรงไฟฟ้าดักจับฝุ่น โดยการเพิ่มประจุไฟฟ้าให้แก่อนุภาคฝุ่นและใช้แผ่นโลหะอีกชุดหนึ่งซึ่งเรียง ขนานกันดูดอนุภาคฝุ่นเอาไว้ โดยหลังจากการใช้งานไประยะหนึ่ง จะต้องมีการทำความสะอาดแผ่นโลหะ
3) การปล่อยประจุไฟฟ้า (Ionizer) เป็นการใช้เครื่องผลิตประจุไฟฟ้าและปล่อยประจุไฟฟ้าออกมาพร้อมกับลมเย็น เพื่อดูดจับอนุภาคฝุ่นละอองและกลิ่น โดยประจุไฟฟ้าลบที่ถูกปล่อยออกมาจะดูดฝุ่นและกลิ่น ที่มีโครงสร้างเป็นประจุบวก จนกระทั้งรวมตัวกันใหญ่ขึ้นและตกลงสู่พื้นห้อง ข้อดีของระบบนี้คือไม่จำเป็นต้องถอดออกมาทำความสะอาด
ทั้งนี้ เครื่องปรับอากาศที่ระบุว่า "มีระบบฟอกอากาศ" นั้น แท้จริงแล้วเป็นเพียงการป้องกันเชื้อโรค ไม่ให้เข้าไปแพร่เชื้อภายในเครื่องขณะที่ไม่ทำงานเท่านั้น
5.เลือกประเภทให้เหมาะสม
เครื่องปรับอากาศมีอยู่ 2 แบบที่เป็นที่นิยม คือ
1) แบบติดผนัง เป็นเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กกระทัดรัด เหมาะสำหรับห้องที่มีพื้นที่น้อย เช่น ห้องนอนหรือห้องรับแขกขนาดเล็ก มีข้อดีคือ รูปแบบทันสมัย ที่ให้เลือกหลากหลาย ทำงานเงียบและติดตั้งง่าย ส่วนข้อเสียคือ ไม่เหมาะกับงานหนัก
2) แบบตั้ง/แขวน เป็นเครื่องปรับอากาศที่เหมาะกับห้องทุกขนาด ตั้งแต่เล็กถึงใหญ่ ข้อดีคือ สามารถเลือกติดตั้งได้ทั้งแบบตั้งพื้นหรือแขวนเพดาน ใช้งานได้หลากหลาย และมีการระบายลมที่ดี ส่วนข้อเสียคือ ไม่มีรูปแบบให้เลือกมากนัก
ที่มา : mwake.com